มาฝึกหลักไวยกรณ์กันต่อ วันนี้จะเน้นไปที่คำกริยารูปพจนานุกรมครับ ทำไมถึงเรียกว่ารูปพจนานุกรมมาดูกันในตอนนี้ครับ

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการ ให้ Japanese รายการที่จะให้คุณรู้เรื่องราวเกี่ยวกับญี่ปุ่นมากขึ้น กับผม ซันชิโร่ เช่นเคยครับ

หลักไวยกรณ์

1. คำกริยารูปพจนานุกรม 辞書形/普通形

คำกริยารูปพจนานุกรมเป็นรูปพื้นฐานของคำกริยา เป็นรูปที่เราจะใช้หาเวลาเปิดพจนานุกรม ไม่ว่าจะเป็นพจนานุกรมที่เป็นเล่มหรือว่าพจนานุกรมออนไลน์ต่าง ๆ ก็ต้องใช้รูปนี้เปิด (ใช้รูป ます หาจะไม่เจอนะจ้ะ) จึงเป็นรูปที่พื้นฐานมากและสำคัญมาก ๆ ครับ วิธีการผันคำกริยารูป ます เป็นรูปพจนานุกรม หรือที่จริงแล้วคือการผันกลับมาเป็นรูปพจนานุกรมนั้นจะแตกต่างกันไป แล้วแต่กลุ่มของคำกริยาแต่ละกลุ่มอีกเช่นเคย เนี่ยก็เลยบอกให้จำว่าคำกริยาแต่ละคำเป็นกลุ่มไหน เพราะมันใช้เรื่อย ๆ เลย (ถ้าใครลืมกลับไปดู http://haijapanese2020.com/hjp-s2-095/ http://haijapanese2020.com/hjp-s2-104/)

1) คำกริยากลุ่มที่ I

เปลี่ยนเสียงแถว い ของพยางค์หน้า  ます ให้เป็นเสียงแถว う

  • 書きます → 書く
  • 行きます → 行く
  • 急ぎます → 急ぐ
  • 泳ぎます → 泳ぐ
  • 読みます → 読む
  • 遊びます → 遊ぶ
  • 取ります → 取る
  • 待ちます → 待つ
  • 打ちます → 打つ
  • 吸います → 吸う
  • 話します → 話す
  • 指します → 指す

2) คำกริยากลุ่มที่ II

 เติม る หลังคำกริยารูป ます

  • 食べます → 食べる
  • 浴びます → 浴びる
  • 着ます → 着る
  • います → いる
  • 見ます → 見る

3) คำกริยากลุ่มที่ III

จำอย่างเดียวเลยครับกลุ่มนี้

  • します → する
  • きます → くる

*ถ้าใครอยากฝึกการผันกริยาให้คล่อง ๆ ลองเปิดไปดูตารางผันคำกริยาในท้ายหนังสือได้เลย แล้วลองปิดคอลัมน์ต่าง ๆ ลองผันคำกริยาดูแล้วตรวจสอบความถูกต้องเองเลย

เกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ

คำกริยารูปพจนานุกรมเรียกภาษาญี่ปุ่นว่า 辞書形(じしょけい) แปลว่ารูปพจนานุกรมเลย หรือบางทีจะเรียกว่า 普通形(ふつうけい) แปลว่ารูปทั่วไป/ธรรมดา เวลาใช้เรียกว่าเป็นรูปพจนานุกรมหรือรูปทั่วไป/ธรรมดาก็แล้วแต่การใช้

  • 普通形 ใช้เรียกเวลาใช้ในประโยคว่าเป็นรูปที่ใช้พูดทั่วไปหรือรูปสุภาพ (ます形)
  • 辞書形 ใช้เรียกว่าเป็นหนึ่งในรูปของพื้นฐานการผันคำกริยารูปต่าง ๆ 「辞書形」「ない形」「た形」[て形]

2.

คำนามができますสามารถ…ได้, … ได้, … เป็น, เป็นไปได้
คำกริยารูปพจนานุกรม こと  

できます (できる) เป็นคำกริยาที่ใช้แสดงความสามารถที่บุคคล, สัตว์, สิ่งของ มีอยู่ หรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่อาจะเกิดขึ้นหรือเป็นไปได้ในสถานการณ์นั้น ๆ กรรมของ できます จะชี้ด้วย が ส่วนรายละเอียดความสามารถหรือความเป็นไปได้จะแสดงด้วยคำนามหรือคำกริยารูปพจนานุกรม こと

1) กรณีของคำนาม

มักใช้คำนามที่แสดงกิริยาท่าทางหรือการเคลื่อนไหว (อาการนาม + するต่าง ๆ) (เช่น 運転、買い物、スキー、ダンス) หรือคำนามที่แสดงถึงการใช้ทักษะอย่างเช่น 日本語、ピアノ

  • ミラーさんは日本語ができます。 คุณมิลเลอร์พูดภาษาญี่ปุ่นได้
  • 雪がたくさん降りましたから、今年はスキーができます。 ปีนี้เล่นสกีได้ เพราะหิมะตกมาก 
  • 私はピアノができます。 ฉันเล่นเปียโนได้

2) กรณีของคำกริยา

หากจะบอกว่าสามารถกระทำสิ่งหนึ่งได้ให้เติม こと หลังคำกริยารูปพจนานุกรมเพื่อทำให้คำกริยานั้นกลายเป็นนามวลี แล้วต่อท้ายด้วย ができます

  • ミラーさんは漢字を読むことができます。 คุณมิลเลอร์อ่านอักษรคันจิได้
  • カードで払うことができます。 สามารถจ่ายด้วยบัตรเครดิตได้
  • 私は泳ぐことができます。 ฉันสามารถว่ายน้ำได้

ถ้าคุณติดตามรายการ ให้ Japanese มาตั้งแต่เอพิโสดที่ 1 คุณจะได้เรียนรู้คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด 4,145 คำและสำนวนครับ

ติดตามคำศัพท์ได้ในบล็อก ตามลิงค์ในคำอธิบายนะครับ แล้วอย่าลืมติดตามรายการ ให้ Japanese กับผม ซันชิโร่ ได้ใหม่ ในทุกวันได้ทาง Spotify, Youtube และ Podbean ครับ ถ้าชื่นชอบรายการ ให้ Japanese ก็อย่าลืมกดไลค์ ซับสไครบ์ และแชร์ ให้ด้วยนะครับ ถ้าอยากพูดคุยก็ส่งข้อความเข้ามาได้ทาง Facebook ให้ Japanese ได้เลยครับ ขอตัวลาไปก่อน また会いましょう สวัสดีครับ

ให้ แจแปนนีส ให้คุณรู้เรื่องราวเกี่ยวกับญี่ปุ่นมากขึ้น

FB Page: https://www.facebook.com/HiJapanese2020
Twitter: https://twitter.com/HiJapanese2020
Youtube:https://www.youtube.com/channel/UCmGORrOUCC_3BUUdUqkAH9g
Podbean: https://hijapanese.podbean.com/